“ภาวะอ้วน” เกิดจากอะไร
“ภาวะอ้วน” มักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง มีไขมันและน้ำตาลสูงในปริมาณ ที่มากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย (คือ 2,500 แคลอรี่ในเพศชาย และ 2,000 แคลอรี่ในเพศหญิง) และอาจเกิดจากกิจวัตรประจำวัน ลักษณะนิสัย หรือข้อจำกัดทางสุขภาพ เช่น อาการป่วย หรือภาวะหลังการคลอดบุตร ทำให้ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ขาดการออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม ทำให้มีการ เผาผลาญ แคลอรี่และไขมันน้อย จนเกิดเป็นไขมันสะสมอยู่ในร่างกาย ปริมาณมาก
โดยไขมันจะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. Subcutaneous Fat (ไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง)
โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง สะโพก และโคนขา สาเหตุเนื่องจากกินอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกิน โดยเฉพาะกินอาหารประเภทที่ทำจากแป้ง น้ำตาล ไขมัน และน้ำมัน รวมทั้งกินอาหารทอดชนิดต่างๆ มากเกินความต้องการและไม่ได้ออกกำลังกาย อย่างเหมาะสม
2. Visceral Fat (ไขมันในช่องท้อง)
ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายรับสารอาหารประเภทไขมันเข้าสู่ร่างกายจำนวนมาก และร่างกาย ไม่สามารถเผาผลาญได้หมดในแต่ละวัน ไขมันในส่วนนี้ก็จะเข้าไปแทรกซึมเกาะติดอยู่ภายในระหว่างอวัยวะต่าง ๆ และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งกันนับว่าเป็นไขมันใต้ผิวหนังชนิดหนึ่ง ยิ่งผ่านไปนานๆ ไขมันชนิดนี้ก็จะมีความแข็งตัว มากยิ่งขึ้น และจะดันให้หน้าท้องป่องออกมา
จะเห็นได้ว่าไขมันทั้ง 2 ประเภท จะมาในรูปแบบของความอร่อย มารู้ตัวอีกทีเราก็กลายเป็นสาวตัวบวม อ้วนตัน รูปร่างไม่สมส่วน เสียทั้งบุคลิกและความมั่นใจ บางคนเกิดความเครียด
วิธีดูเเลตัวเอง ไม่ให้อยู่ในภาวะอ้วน
️1. เลี่ยงอาหารที่อุดมไปด้วยไขมัน
พึงระวังเมนูอาหารที่อาจจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูงโดยไม่รู้ตัว อย่างเช่น ฮอทดอก ขนมกรุบกรอบ ขนมหวาน และของทอดทุกชนิด เพื่อป้องกันไขมันส่วนเกิน ที่จะเข้าไปสะสมเพิ่มขึ้น ในร่างกาย
️2. ลดปริมาณแคลอรี่
การกินจุบกินจิบ จะส่งผลให้ปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวันพุ่งสูงจนเกินความต้องการของร่างกาย และส่งผลให้ส่วนเกินที่ได้รับมาถูกเก็บเอาไว้ในร่างกาย ด้วยรูปแบบของไขมัน
️3. แบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยเพื่อลดความหิว
การกินเพียงแค่ 3 มื้อต่อวัน อาจจะส่งผลให้ร่างกายรู้สึกหิวจนต้องกินมื้ออื่นๆ มากขึ้น ลองหันมา แบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยประมาณ 5-6 มื้อต่อวัน โดยสัดส่วนของแต่ละมื้อควรให้พอดี กับพลังงานที่ร่างกายต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
4. ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
การออกกำลังกายที่เหมาะสมควรออกอย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป เพื่อให้ไขมันได้รับการเผาผลาญ โดยควรทำคาดิโอ ควบคู่กับเวทเทรนนิ่ง ที่ช่วยทั้งการสลายไขมัน และเสริมสร้างกล้ามเนื้อไปพร้อมๆ กัน
5. ดูแลตัวเองด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์
หากลองมาหลายวิธีแล้วยังไม่ได้ผล ลองใช้วิธีทางการแพทย์ ก็สามารถทำให้ไขมันและสัดส่วน ลดลงได้ เช่น การใช้นวัตกรรมสลายไขมันด้วยความเย็น โดยที่คุณไม่ต้องเจ็บตัวเลย หรือการใช้เครื่องมือในการควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งในปัจจุบันก็สามารถทำได้อย่างปลอดภัย แต่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของแพทย์